หลักสูตร การดำเนินกิจกรรมกลุ่มย่อย Small Group Activity : SGA

บทนำ
ทุกกิจกรรมมีการใช้ปัจจัยสำหรับการผลิต เช่น คน เครื่องจักรอุปกรณ์ วิธีการ วัตถุดิบ และสภาพแวดล้อม

ซึ่งปัจจัยเหล่านี้ใช้เพื่อสำหรับการเพิ่มผลลิตซึ่งจะต้องทำงานร่วมกันอย่างเหมาะสม แต่ปัญหาที่พบไม่มีปัจจัยใดที่จะมีสภาพที่สมบูรณ์ได้ตลอด จึงทำให้เกิดปัญหาขึ้นในการปฏิบัติงาน ซึ่งจำเป็นต้องได้รับการแก้ไขเพื่อทำให้สภาพการทำงานเป็นปกติ


กิจกรรมกลุ่มย่อย คือ กลุ่มคนที่เกิดการรวมตัวกันไม่มากนักเพื่อทำกิจกรรมอย่างใดอย่างหนึ่งร่วมกัน ซึ่งกลุ่มย่อยจะมีลักษณะเด่น 3 ประการคือ สามารถคุยกันได้ทุกเรื่อง มีจุดมุ่งหมายร่วมกัน เข้าใจซึ่งกันและกัน และมีเป้าหมายการดำเนินกิจกรรมคล้ายกับ QCC แต่รวดเร็วกว่า
ปัจจุบันหลายๆองค์กรได้มีการนำกลุ่มย่อยที่มีมาดำเนินการส่งเสริมความรู้และทักษะ เพื่อนำไปปรับปรุงและยกระดับประสิทธิภาพการทำงานซึ่งจะพบว่าอัตราการประสบผลสำเร็จจะสูงเนื่องจะพื้นฐานของกลุ่มย่อยเอง ดังนั้นทีมงานหรือผู้ส่งเสริมกิจกรรมกลุ่มย่อยจึงควรมีความเข้าใจเกี่ยวกับแนวคิด ขั้นตอนการดำเนินการ เพื่อทำให้กิจกรรมกลุ่มย่อยนั้นมีการดำเนินการที่มีประสิทธิภาพและสามารถรักษากลุ่มให้เกิดขึ้นในองค์กร

วัตถุประสงค์
1. เพื่อให้ผู้อบรมเข้าใจแนวคิดและหลักการดำเนินกิจกรรมกลุ่มย่อย
2.เพื่อให้ผู้เข้ารับการฝึกอบรมเข้าใจหลักการ/กระบวนการแก้ไขปัญหา เครื่องมือสำหรับการวิเคราะห์รากเหง้าของปัญหา และการเลือกตัดสินใจถึงมาตรการที่เหมาะสม
3. เพื่อให้ผู้เข้ารับการฝึกอบรมมีทักษะการวิเคราะห์สาเหตุและการระบุวิธีการจัดการ/เลือกแนวทางการแก้ไขที่เหมาะสมกับแต่ละปัญหา

กลุ่มเป้าหมาย : ผู้บริหาร ผู้จัดการ หัวหน้างาน พนักงาน และผู้ที่สนใจ
จำนวนผู้เข้าอบรม : 30 คน/รุ่น

ระยะเวลา 1 วัน 9.00-16.30

กำหนดการอบรม
หลักการและแนวคิด
– ดัชนีชี้วัดความสำเร็จของการทำธุรกิจ
– หลักการบริหารงานพื้นฐาน
– ปัญหาและมุมมองของการเกิด/แก้ไขปัญหา
การดำเนินกิจกรรมกลุ่มย่อย (SGA)
– กิจกรรมกลุ่มย่อยคืออะไร
– ประโยชน์ 3 ด้านของ SGA
ขั้นตอนการดำเนิน กิจกรรมกลุ่มย่อย SGA
– 10 ขั้นตอนการดำเนินกิจกรรมกลุ่มย่อย
STEP 1 ค้นหาปัญหาในหน้างาน
– การระบุหน้าที่รับผิดชอบ
– การบ่งชี้ปัญหาที่เจอในหน้างาน
STEP 2 เลือกหัวข้อเรื่อง
– การประเมินหัวข้อ SGA
STEP 3 ศึกษาข้อมูลและกำหนดเป้าหมายของกิจกรรม
– การเก็บข้อมูลสภาพปัจจุบันและการแสดงผล
– การตั้งเป้าหมาย SGA ด้วยเทคนิคต่างๆ
STEP 4 วางแผนกิจกรรม
– เทคนิคการวางแผนกิจกรรม SGA
STEP 5 วิเคราะห์สาเหตุ
– การวิเคราะห์สาเหตุโดยเครื่องมือต่างๆ
– การยืนยันสาเหตุ
STEP 6 พิจารณามาตรการแก้ไข
– การกำหนดมาตรการและประเมินมาตรการ
– การจัดทำแผนการดำเนินงานตามมาตรการที่กำหนด
STEP 7 ดำเนินมาตรการแก้ไข
– การดำเนินการตามแผน
STEP 8 ตรวจสอบยืนยันผล
– การเก็บข้อมูลสภาพหลังแก้ไข
– การเปรียบเทียบกับเป้าหมาย
STEP 9 จัดทำมาตรฐาน
– การจัดทำมาตรฐานและกำหนดวิธีการควบคุม
STEP 10 ป้องกันการเกิดซ้ำ
– การอบรมป้องกัน
– การเก็บข้อมูลสภาพหลังประกาศมาตรฐาน
– การเปรียบเทียบผลหลังแก้ไข
WORKSHOP
การประกวด
– ขั้นตอนการประกวด
– การรวบรวมข้อมูลส่งประกวดและการตรวจสอบ
– การตรวจสอบผลการดำเนินงาน
– แนวคิดการกำหนดเกณฑ์การประเมิน
การส่งเสริมการดำเนินกิจกรรม
– แผนส่งเสริมการดำเนิน กิจกรรมกลุ่มย่อย SGA
– โครงสร้างองค์กรและบทบาทหน้าที่
– Q&A

รูปแบบการอบรม
– บรรยาย 30% Workshop 70%
– ทำกิจกรรมผ่านชุด WORKSHOP ที่สถาบันจัดเตรียมให้ ตั้งแต่ Step 1- Step 10
– ใช้หลักการระดมสมองและร่วมการดำเนินกิจกรรมเสมือนจริง

Total Page Visits: 1541 - Today Page Visits: 1