บทนำ
GHP ย่อมาจาก Good Hygiene Practice(s) คือ ระบบพื้นฐานที่โรงงานผลิตอาหาร หรือผู้ประกอบการที่อยู่ในห่วงโซ่อาหารควรจะนำไปประยุกต์ใช้ จัดทำขึ้นโดยหน่วยงานมาตรฐานอาหารระหว่างประเทศ หรือ โคเด็กซ์ (CODEX) ซึ่งจะสามารถตอบสนองนโยบายขององค์กรอนามัยโลกที่ต้องการให้อาหารมีความปลอดภัยตั้งแต่ การปลูกผัก เลี้ยงสัตว์ จนกระทั่งถึงโต๊ะอาหาร
การเปลี่ยนชื่อจาก GMP เป็น GHP เนื่องจากต้องการให้ชื่อของมาตรฐานชัดเจน และครอบคลุมอุตสาหกรรมที่สามารถขอการรับรองมาตรฐานนี้ได้มากขึ้น เพราะ GMP เดิมนั้นตัว “M” ย่อมาจากคำว่า “Manufacturing” แปลว่า “การผลิต” ทำให้เกิดความสับสนกับบางอุตสาหกรรมที่ไม่ได้เป็นผู้ผลิต เช่น การจัดเก็บ การขนส่ง การให้การบริการ ที่ขอการรับรองมาตรฐาน พอเปลี่ยนเป็น GHP ซึ่ง ตัว “H” ย่อมาจากคำว่า “Hygiene” เพื่อให้สามารถครอบคลุมอุตสาหกรรมอื่นๆที่เกี่ยวข้องกับ “Food Chain” หรือ “ห่วงโซ่อาหาร” ว่าทุกอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องกับอาหารตั้งแต่เริ่มต้น
GMP เดิมนั้นมีการแบ่งข้อกำหนดเป็น 10 ข้อกำหนดหลักด้วยกัน โดยแต่ละข้อจะระบุ
ข้อกำหนดย่อยเป็นอิสระ เช่น 9.1, 10.1 เป็นต้น และแยก HACCP อยู่ในส่วนของภาคผนวก (Annex)
แต่ GHP มีการเขียนข้อกำหนดที่ต่างไปจากเดิมคือ มีการแบ่งข้อกำหนดเป็น 9 ข้อกำหนดหลักก็จริงแต่ข้อกำหนดย่อยนั้นจะต่อเนื่องกันไป โดย GHP นั้นจะอยู่ในข้อกำหนด Chapter (ส่วนที่) 2 ที่มี Section (บทที่) 1 ถึง 9 โดยมีข้อกำหนดย่อยที่ต่อเนื่องกันทั้งหมดตั้งแต่ข้อ 1 – 134
ส่วน HACCP นั้นจะอยู่ในข้อกำหนด Chapter (ส่วนที่) 2 ที่มี Section (บทที่) 1 ถึง 3 โดยมีข้อกำหนดย่อยที่ต่อเนื่องกันทั้งหมดตั้งแต่ข้อ 135 – 189
HACCP คือ Hazard Analysis Critical Control Point เป็นมาตรฐานการผลิต ที่มีมาตรการป้องกันอันตราย ที่ผู้บริโภคอาจได้รับจากการบริโภคอาหาร ซึ่งรายละเอียดในข้อกำหนดจะกล่าวถึง การวิเคราะห์อันตราย จุดควบคุมวิกฤต เป็นแนวคิดเกี่ยวกับ มาตรการป้องกันอันตราย ที่อาจเกิดขึ้น ในแต่ละขั้นตอน ของการดำเนินกิจกรรมใด ๆ โดยมีกระบวนการดำเนินงานเชิงวิทยาศาสตร์ คือมีการศึกษาถึงอันตราย หาทางป้องกันไว้ล่วงหน้า รวมทั้งมีการควบคุม และเฝ้าระวัง เพื่อให้แน่ใจว่า มาตรการป้องกัน ที่กำหนดขึ้นนั้น มีประสิทธิภาพตลอดเวลา
อันตรายที่มีผลต่อความปลอดภัยของอาหาร คือคุณลักษณะทางชีวภาพ เคมี หรือกายภาพ ที่มีอยู่ในอาหาร หรือสภาวะของอาหาร ที่จะทำให้เกิดปัญหาต่อสุขภาพของผู้บริโภค แบ่งเป็น
ทางชีวภาพ (Biological hazards)
ทางเคมี (Chemical hazards)
ทางกายภาพ (Physical hazards)
วัตถุประสงค์
1. เพื่อให้มั่นใจว่าระบบบริหารด้านคุณภาพขององค์กรสอดคล้องกับมาตรฐาน GHPs/HACCP
2. เพื่อให้มั่นใจว่าองค์กรได้ปฏิบัติตามข้อกำหนด GHPs/HACCP อย่างมีประสิทธิผล
กลุ่มเป้าหมาย : ผู้จัดการ หัวหน้างาน พนักงาน
จำนวนผู้เข้าอบรม : 30 คน/รุ่น
ระยะเวลาอบรม 2 วัน 09.00-16.30 น
หัวข้อฝึกอบรม
บทที่ 1 การปฏิบัติสุขลักษณะที่ดี
ส่วนที่ 1: บทนำและการควบคุมอันตรายที่มีต่ออาหาร
ส่วนที่ 2: การผลิตขั้นต้น
ส่วนที่ 3: สถานประกอบการ – การออกแบบสิ่งอำนวยความสะดวกและอุปกรณ์
ส่วนที่ 4: การฝึกอบรมและความสามารถ
ส่วนที่ 5: การบำรุงรักษาสถานประกอบการ การทำความสะอาด และการฆ่าเชื้อและการควบคุมสัตว์พาหะนำเชื้อ
ส่วนที่ 6: สุขลักษณะส่วนบุคคล
ส่วนที่ 7: การควบคุมการปฏิบัติงาน
ส่วนที่ 8: ข้อมูลเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์และการสร้างความเข้าใจให้ผู้บริโภค
ส่วนที่ 9: การขนส่ง
บทที่ 2 ระบบการวิเคราะห์อันตรายและจุดวิกฤตที่ต้องควบคุม (HACCP) และคำแนะนำสำหรับการใช้งาน
ส่วนที่ 1: หลักการของระบบ HACCP
ส่วนที่ 2: คำแนะนำทั่วไปสำหรับการประยุกต์ใช้ระบบ HACCP
ส่วนที่ 3: การประยุกต์ใช้
ขั้นตอนในการประยุกต์ใช้ระบบ HACCP ตามมาตรฐาน
– ขั้นตอนที่ 1 จัดตั้งทีมงาน HACCP
– ขั้นตอนที่ 2 การอธิบายรายละเอียดผลิตภัณฑ์
– ขั้นตอนที่ 3 การชี้หาวัตถุประสงค์ในการใช้ผลิตภัณฑ์
– ขั้นตอนที่ 4 การจัดทำแผนภูมิกระบวนการ
– ขั้นตอนที่ 5 การตรวจสอบความถูกต้องของแผนภูมิกระบวนการ
– ขั้นตอนที่ 6 (หลักการที่ 1) วิเคราะห์อันตรายและ กำหนดมาตรการในการควบคุม
– ขั้นตอนที่ 7 (หลักการที่ 2) การหาจุดวิกฤตที่ต้องควบคุม
– ขั้นตอนที่ 8 (หลักการที่ 3) การกำหนดค่าวิกฤตของแต่ละจุดวิกฤต
– ขั้นตอนที่ 9 (หลักการที่ 4) กำหนดระบบเพื่อตรวจติดตามการควบคุมจุดวิกฤตที่ต้องควบคุม
– ขั้นตอนที่ 10 (หลักการที่ 5) กำหนดวิธีการปฏิบัติการแก้ไข
– ขั้นตอนที่ 11 (หลักการที่ 6) กำหนดขั้นตอนการทวนสอบ
– ขั้นตอนที่ 12 (หลักการที่ 7) กำหนดวิธีการจัดเก็บเอกสารและบันทึก
รูปแบบการอบรม
– บรรยาย 60% Workshop 40%