หลักสูตร การบํารุงรักษาเชิงพยากรณ์ (Predictive Maintenance)

บทนำ
การบำรุงรักษาเครื่องจักรที่ดีต้องเริ่มต้นจากการบำรุงรักษาเชิงป้องกัน Preventive Maintenance ซึ่งถือเป็นกรอบการทำงานเบื้องต้นของการทำการบำรุงรักษาเชิงพยากรณ์ โดยทั่วไปแล้ว แต่ละโรงงานจะมีรูปแบบการทำงาน และสภาวะแวดล้อมในการผลิตที่แตกต่างกัน ทำให้การสึกหรอของเครื่องจักรอาจแตกต่างไปจากที่กำหนดตามมาตรฐานของเครื่องจักร ทำให้วิศวกรฝ่ายบำรุงรักษาของแต่ละโรงงานต้องมีการพยากรณ์การสึกหรอนี้จากสภาพการทำงานจริงของตน และทำการบำรุงรักษาไปตามการพยากรณ์นั้น เพื่อป้องกันการเกิดปัญหาในระหว่างการผลิต

การบำรุงรักษาเชิงพยากรณ์ (Predictive Maintenance) คือการคาดคะเนอัตราการเสื่อมของเครื่องจักรจากผลการวัดโดยใช้เครื่องมือทำให้ได้ข้อมูลที่สามารถคาดคะเน ทำนาย พยากรณ์อาการชำรุดในปัจจุบันเพื่อสามารถจัดวางแผนเพื่อทำการบำรุงรักษาในอนาคต โดยอาจจะใช้วิธีการ วิเคราะห์ผลการบำรุงรักษาจากประวัติเครื่องจักร, ประวัติการซ่อมบำรุง, ตรวจวัดสภาพเครื่องจักร, บันทึกผลการตรวจวัด, วิเคราะห์ผลการตรวจวัด และแก้ไขปัญหา ทำให้ใช้เครื่องจักรอุปกรณ์การผลิตอย่างคุ้มค่าเวลาการทำงานเครื่องจักรมากขึ้น ผลผลิตมากขึ้น ลดค่าใช้จ่ายการซ่อมบำรุง และการจัดเก็บ-รักษาวัสดุคงคลัง
สิ่งที่เราสามารถตรวจวัดเพื่อการพยากรณ์ได้
– การเฝ้าระวังระดับการสั่นสะเทือน (Vibration Analysis)
– การเฝ้าระวังโดยการวิเคราะห์สารหล่อลื่น (Oil Wear Particle Analysis)
– การเฝ้าระวังการถ่ายภาพ รวมทั้งคลื่นความร้อน (Thermography / Temperature monitoring)

– การเฝ้าระวังการสึกหรอหรือรอยแตกร้าว (Thickness tester, Ultrasonic, X-ray)

วัตถุประสงค์
1.เพื่อให้ผู้เข้ารับการฝึกอบรมเข้าใจหลักการ และขั้นตอนของการบํารุงรักษาเชิงพยากรณ์ Predictive Maintenanceได้อย่างถูกต้อง
2.เพื่อให้ผู้เข้ารับการอบรมเข้าใจการพิจารณาเลือกเครื่องจักร ทำระบบพยากรณ์ พร้อมเครื่องมือที่ใช้ตรวจวัดเพื่อพยากรณ์การซ่อมบำรุงได้อย่างถูกต้อง

กลุ่มเป้าหมาย : ผู้บริหาร ผู้จัดการ หัวหน้างาน พนักงานในหน่วยงานซ่อมบำรุง
จำนวนผู้เข้าอบรม :30 คน/รุ่น

กำหนดการอบรม 1 วัน 09.00-16.30

หัวข้อสัมมนา
– ความแตกต่างและการประยุกต์ใช้ระบบการบำรุงรักษาแต่ละแบบ
– การพัฒนาระบบบำรุงรักษาเชิงป้องกันเป็นระบบ บำรุงรักษาพยากรณ์
– ข้อดี-ข้อเสียที่ต้องมอง
– ผังขั้นตอนการทำการบํารุงรักษาเชิงพยากรณ์ Predictive Maintenance
– การพิจารณาเลือกเครื่องจักร ทำระบบพยากรณ์
– เครื่องมือที่ใช้ตรวจวัด เพื่อพยากรณ์การซ่อมบำรุง
• การตรวจวิเคราะห์สารหล่อลื่น, การตรวจวัดอุณหภูมิ
• การตรวจวัดเสียง, การวัดการสั่นสะเทือน
• การตรวจสภาพขณะเครื่องจักรหมุนทำงาน
• การตรวจวัดความหนา
• การตรวจวัดรอยแตกร้าว
– Work Shop
– พิกัดการเสื่อมสภาพ และเทคนิคการพยากรณ์การซ่อมบำรุง
– ตัวอย่างการใช้และรายงานการเสื่อมสภาพเครื่องจักร
– การตัดสินใจและจุดคุ้มทุนการทำระบบบำรุงรักษาพยากรณ์
– กลยุทธ์จากประสบการณ์การทำระบบบำรุงรักษาเชิงพยากรณ์
– Q&A

รูปแบบการอบรม
-บรรยาย 60% Workshop40%
-ดำเนินกิจกรรมกลุ่มโดยใช้ชุด workshop ที่ทางสถาบันจัดเตรียมและฐานข้อมูลจริงที่องค์กรจัดเตรียมไว้

Total Page Visits: 3416 - Today Page Visits: 2