หลักสูตร เอกสารข้อมูลความปลอดภัยสารเคมี Material Safety Data Sheet (MSDS)

บทนำ
สารเคมีอันตราย วัตถุอันตราย สารอันตราย หมายถึง ธาตุ หรือสาร ประกอบ ที่มีคุณสมบัติเป็นพิษหรือเป็นอันตรายต่อมนุษย์ สัตว์ พืช และทำให้ทรัพย์สินและสิ่งแวดล้อมเสื่อมโทรม
สารเคมีอันตรายจำแนกได้ 9 ประเภทตามหลักสากล
ประเภทที่ 1 วัตถุระเบิด [EXPLOSIVE] ประเภทที่ 2 ก๊าซ [Gases] ประเภทที่ 3 ของเหลวไวไฟ [Flammable Liquids] ประเภทที่ 4 ของแข็งไวไฟ [Flammable Solids] ประเภทที่ 5 วัตถุออกซิไดส์และออร์แกนิกเปอร์ออกไซด์ [Oxidizing Substances and Organic Peroxides ] ประเภทที่ 6 วัตถุมีพิษและวัตถุติดเชื้อ [Toxic Substances & Infectious Substances] ประเภทที่ 7 วัตถุกัมมันตรังสี[Radioactive Materials] ประเภทที่ 8 วัตถุกัดกร่อน [Corrosive Substances] ประเภทที่ 9 วัตถุอื่น ๆ ที่เป็นอันตราย [Miscellaneous Dangerous Substances and Articles] GHS CLASSIFICATION การจำแนกความเป็นอันตรายของสารเคมี(16 ประเภท )

Safety Data Sheet (SDS) หรือในบางครั้งเรียกว่า Material Safety Data Sheet (MSDS) ซึ่งในแต่ละประเทศอาจใช้ชื่อแตกต่างกันบ้างเช่น
USA: Material Safety Data Sheet (MSDS)
Malaysia: Chemical Safety Data Sheet (CSDS)
European Union: Safety Data Sheet (SDS)
msds คือเอกสารข้อมูลความปลอดภัยสารเคมี ซึ่งเป็นเอกสารที่แสดงข้อมูลของสารเคมีหรือเคมีภัณฑ์เกี่ยวกับลักษณะความเป็นอันตราย พิษ วิธีใช้ การเก็บรักษา การขนส่ง การกำจัดและการจัดการอื่นๆ
เพื่อให้การดำเนินการเกี่ยวกับสารเคมีนั้นเป็นไปอย่างถูกต้องและปลอดภัย เพื่อให้เกิดการปฏิบัติที่ถูกต้องผู้เกี่ยวข้องจึงจำเป็นจำต้องมีความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับข้อมูล MSDS และแนวการปฏิบัติที่เหมาะสม

วัตถุประสงค์
เพื่อให้ผู้เข้ารับการฝึกอบรมทราบวิธีการอ่าน Safety Data Sheet (SDS) และมีความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับการปฏิบัติตามที่ถูกต้อง

กลุ่มเป้าหมาย : ผู้จัดการ หัวหน้างาน พนักงาน และผู้ที่สนใจ
จำนวนผู้เข้าอบรม : 30 คน/รุ่น

ระยะเวลาอบรม 1 วัน 09.00-16.30 น

หัวข้อฝึกอบรม
– กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับ วัตถุอันตราย
– Safety Data Sheet (SDS) คืออะไรและการอ่านข้อมูล SDS
– สถานที่เก็บรักษาวัตถุอันตราย
* ผนังอาคาร , พื้น , ทางออกฉุกเฉิน , หลังคา ,ระบบระบายอากาศ , ระบบเตือนภัย , ฯลฯ
– การจำแนกประเภทสารเคมีและวัตถุอันตรายสำหรับการเก็บรักษา
* การจำแนกประเภทสารเคมีและวัตถุอันตราย
* วิธีการจำแนกประเภทสารเคมีและวัตถุอันตราย
* วิธีการจัดเก็บสารเคมีและวัตถุอันตราย
– มาตรการการป้องกัน
* การปฐมพยาบาลเบื้องต้น
* อุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคล
* เครื่องหมายความปลอดภัย
* การเคลื่อนย้ายสารเคมีและวัตถุอันตราย
* การจัดการเมื่อเกิดการหกรั่วไหลและตอบโต้ภาวะฉุกเฉิน
– การเก็บรักษานอกอาคาร
– Q&A

รูปแบบการอบรม
– บรรยาย ยกตัวอย่าง แลกเปลี่ยนประสบการณ์

 

Total Page Visits: 2951 - Today Page Visits: 1