บทนำ
IE Techniques หรือ วิศวกรรมอุตสาหการ หมายถึง วิศวกรรมศาสตร์สาขาที่เกี่ยวข้องกับการวิเคราะห์ข้อมูล, ประเมินผล, วางแผนงาน, ออกแบบและควบคุมปัจจัยต่าง ๆในระบบการผลิตเพื่อทำให้ได้ผลผลิตตามเป้าหมาย และสามารถควบคุมต้นทุนการผลิตได้อย่างเหมาะสมรวมทั้งเพื่อให้เกิดความปลอดภัยในการทำงาน
Frederick W. Taylor วิศวกรชาวอเมริกัน ผู้ที่ถูกขนานนามว่าเป็นบิดาแห่งการจัดการแบบวิทยาศาสตร์ (Scientific Management) และวิศวกรรมอุตสาหการ ( IE Techniques ) ในปี 1881 เขาได้เริ่มนำเทคนิคการศึกษาเวลาการทำงาน (Time Study) มาใช้วิเคราะห์การทำงานของพนักงานโดยการแยกองค์ประกอบการทำงาน (Work Elements) และทำการจับเวลา
Frank B. Gilbreth วิศวกรชาวอเมริกัน ผู้ที่ถูกขนานนามว่าเป็นบิดาแห่งวิศวกรรมการจัดการ(Management Engineering) ในปี 1885 เขาได้เริ่มนำเทคนิคการศึกษาการเคลื่อนไหว(Motion Study) มาใช้วิเคราะห์การทำงานของพนักงาน เพื่อพัฒนาการเคลื่อนไหวในการทำงานหลังจากนั้นตั้งแต่ปี 1990 เป็นต้นมาแนวคิดและหลักการของทั้งสองท่าน ได้ถูกนำมาประยุกต์ใช้ในอุตสาหกรรมต่าง ๆอย่างแพร่หลายจนถึงปัจจุบัน
บทบาทหน้าที่ของ IE Techniques ออกแบบกระบวนการทำงาน, แผนผังการผลิต และปัจจัยต่าง ๆ เพื่อให้สามารถผลิตงานได้ตามเป้าหมายวัดผลและรวบรวมข้อมูล เพื่อประเมินผลการทำงานในแต่ละกระบวนการผลิตวิเคราะห์ข้อมูลและวางแผนดำเนินการ เพื่อแก้ไขปัญหาและพัฒนาปรับปรุงกระบวนการผลิตสร้างมาตรฐานในกระบวนการผลิต เพื่อควบคุมไม่ให้เกิดปัญหาเดิมซ้ำ, เพื่อให้สามารถผลิตงานได้ตามเป้าหมายอย่างสม่ำเสมอ และเพื่อให้เกิดความปลอดภัยในการทำงาน
วัตถุประสงค์
1. เพื่อให้ผู้เข้ารับการอบรมเข้าใจหลักการและความจำเป็นในการปรับปรุงกระบวนการ
2. เพื่อให้ผู้เข้ารับการฝึกอบรมมีความรู้และทักษะการปรับปรุงกระบวนการโดยใช้เทคนิค Industrial engineering ( IE Techniques )
คุณสมบัติผู้เข้าอบรม ผู้บริหาร วิศวกร หัวหน้างาน และผู้สนใจทั่วไป
จำนวนผู้เข้าอบรม : 30 คน
กำหนดการอบรม (2 วัน) เวลา 09.00-16.30
หัวข้อฝึกอบรม
บทนำ
– เป้าหมายการดำเนินธุรกิจขององค์กร
– แนวทางและเครื่องมือต่างๆสำหรับการเพิ่มผลกำไร
Improvement by IE Techniques
– IE Techniques คืออะไร
– 6 ขั้นตอนการปรับปรุงงานด้วย IE Techniques
– ขั้นตอนที่ 1 เลือกกระบวนการทำงานที่ต้องการปรับปรุง
– ขั้นตอนที่ 2 ศึกษารายละเอียดของวิธีการทำงาน
– Workshop ศึกษาการทำงานโดย Flow Chart
– ขั้นตอนที่ 3 การศึกษาเวลาและการคำนวณเวลามาตรฐาน
– Workshop ศึกษาเวลา
– ขั้นตอนที่ 4 วิเคราะห์ปัญหาในกระบวนการทำงาน
– ความสูญเสีย/สูญเปล่า ในการทำงาน
– การวิเคราะห์ข้อมูลสำหรับการปรับปรุงงานโดย 5W1H
– Workshop การวิเคราะห์งานโดยหลักการ 5W1H
– ขั้นตอนที่ 5 ออกแบบกระบวนการใหม่
– การปรับปรุงกระบวนการโดยหลักการ ECRS
– Workshop การออกแบบกระบวนการใหม่
– ขั้นตอนที่ 6 วัดผลการปรับปรุงกระบวนการและสร้างมาตรฐานการทำงานใหม่
– การวิเคราะห์ข้อมูลก่อน-หลัง ปรับปรุง
– การเริ่มนำกระบวนการใหม่ไปใช้
– Q&A
รูปแบบการอบรม
– บรรยาย 60% Workshop 40%
– ใช้หลักการระดมสมองและร่วมการดำเนินกิจกรรม IE Techniques ปรับปรุงกระบวนการ