หลักสูตร ข้อกำหนดระบบบริหารคุณภาพ ISO 9001 : 2015 & IATF 16949 : 2016 (2วัน)

Keyword ค้นหาที่เกี่ยวข้อง
หลักสูตร IATF 16949 Requirement , หลักสูตร IATF 16949 , อบรม IATF 16949 ออนไลน์ , อบรม IATF 16949 ชลบุรี , อบรม IATF 16949 ฟรี , ข้อกำหนด IATF 16949 ฟรี , IATF 16949 requirement , คอร์ส อบรม IATF 16949 , ข้อกําหนด iatf 16949 requirement , IATF 16949 version 2016

บทนำ อบรม IATF 16949 ฟรี

   International Automotive Task Force (IATF) 16949:2016 เป็นข้อกำหนดของระบบบริหารคุณภาพสำหรับอุตสาหกรรมยานยนต์ ซึ่งมาแทนที่ข้อกำหนดเดิมคือ ISO/TS16949:2009 (3rd edition) ถูกพัฒนาขึ้นโดย ANFIA / Italy , AIAG / USA , FIEV / France , SMMT / UK , VDA / Germany ประกาศเมื่อวันที่ 1 October 2016 เป็นฉบับที่ 1st Edition ซึ่งได้มีการแยกข้อกำหนดเฉพาะอุตสาหกรรมยานยนต์อย่างเดียวจาก IATF ไม่ได้รวม ISO9001 ไว้ในข้อกำหนดเหมือนเดิมจึงทำให้เกิดการใช้ตัวย่อ IATF แทน ISO/TS และได้มีการออกแบบข้อกำหนดโดยยังอ้างอิงไปที่มาตรฐาน ISO9001:2015 ซึ่งปัจจุบันได้มีการนำเอาความเสี่ยงเข้ามาใช้ในการออกแบบระบบเพื่อป้องกันปัญหา

   เป้าหมายของธุรกิจคือ ผลกำไร และ การเติบโตอย่างยั่งยืน ซึ่งการดำเนินงานต้องมีกิจกรรมการผลิตสินค้าและการให้บริการ ซึ่งอาจมีความเกี่ยวพันกับปัจจัยทั้งภายในและภายนอกองค์กรตามสภาพแวดล้อมในพื้นที่นั้นๆ
   เพื่อให้การดำเนินธุรกิจสามารถดำเนินการอย่างมีเสถียรภาพ องค์กรต้องมีการบริหารงานอย่างมีคุณภาพ ซึ่งเป็นเรื่องที่ค่อนข้างยากในสภาพแวดล้อมจึงจำเป็นต้องมีการกำหนดสิ่งที่ต้องดำเนินงานให้สอดคล้องกับบริษทและความต้องการของผู้มีส่วนได้เสีย
   ปัจจุบันองค์กรระหว่างชาติว่าด้วยการมาตรฐาน (ISO, The International Organization for Standardization) ที่มีสมาชิกเป็นหน่วยงานมาตรฐานระดับชาติ ของประเทศต่างๆ ทั่วโลกจึงร่วมกันทำงานยกร่างมาตรฐานระหว่างประเทศ( ISO9001:2015) ฉบับนี้ขึ้นมา ผ่านคณะกรรมการวิชาการ (TC) โดยได้มีการประกาศเมื่อวันที่ 15-09-2015

มาตรฐานสากล ISO 9001:2015 ฉบับนี้ส่งเสริมให้นำเอาการดำเนินงานเชิงกระบวนการมาใช้ในการพัฒนา การดำเนินการ และการปรับปรุงประสิทธิภาพของระบบการจัดการคุณภาพ
   เพื่อยกระดับความพึงพอใจของลูกค้าโดยการสนองความต้องการของลูกค้า ซึ่งมีการนำเอาหลักการจัดการคุณภาพ 7 ประการเข้ามาเป็นแนวทางการกำหนดแนวคิดการบริหาร และแนวคิดบนพื้นฐานความเสี่ยงที่มีผลกระทบต่อระบบการจัดการคุณภาพ ซึ่งประเด็นนี้ได้มีการระบุถึงแนวคิดของการคิดบนพื้นฐานความเสี่ยงเอาไว้ในมาตรฐานสากลฉบับที่ผ่านมา ตัวอย่างเช่น การดำเนินการป้องกันเพื่อขจัดข้อบกพร่องที่อาจเกิดขึ้น การวิเคราะห์ข้อบกพร่องใดๆ ที่เกิดขึ้นจริง และการดำเนินการเพื่อป้องกันการเกิดซ้ำที่เหมาะสมกับผลกระทบของการไม่เป็นไปตามข้อกำหนด แต่ไม่ได้เป็นการป้องกันสิ่งที่จะเกิดขึ้นในมาตรฐานฉบับนี้จึงได้มีการระบุเรื่องความเสี่ยงเข้าในเป็นองค์ประกอบหนึ่งในข้อกำหนด
เพื่อให้สอดคล้องกับข้อกำหนดของมาตรฐานสากล องค์กรจำเป็นต้องวางแผนและดำเนินการเพื่อระบุความเสี่ยงและโอกาสการระบุทั้งความเสี่ยงและโอกาสเป็นการสร้างพื้นฐานสำหรับการเพิ่มประสิทธิภาพของระบบการจัดการคุณภาพ การบรรลุผลลัพธ์ที่ดีขึ้น และการป้องกันผลกระทบเชิงลบ

โอกาสที่อาจเกิดขึ้นเป็นผลของสถานการณ์ที่เอื้อต่อการบรรลุผลที่ตั้งใจไว้ ตัวอย่างเช่น สถานการณ์ช่วยให้องค์กรเป็นที่ดึงดูดต่อลูกค้า พัฒนาผลิตภัณฑ์และบริการใหม่ๆ ลดของเสียหรือปรับปรุงผลิตภาพการดำเนินการเพื่อระบุโอกาสอาจรวมถึงการพิจารณาความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องความเสียงเป็นผลกระทบของความไม่แน่นอนและความไม่แน่นอนเช่นนี้อาจส่งผลกระทบทางบวกหรือทางลบก็ได้การเบี่ยงเบนทางบวกที่เกิดจากความเสี่ยงจะก่อให้เกิดโอกาส แต่ไม่ใช่ผลกระทบทางบวกทั้งหมดจากของความเสี่ยงจะก่อให้เกิดโอกาส
  รูปที่ 2 แสดงโครงสร้างของมาตรฐานสากลฉบับนี้ ในวงจร PDCA
  การประยุกต์ใช้ระบบการจัดการคุณภาพเป็นการตัดสินใจเชิงกลยุทธ์ขององค์กรที่จะสามารถช่วยปรับปรุงประสิทธิผลโดยรวมและเป็นพื้นฐานสำหรับการริเริ่มการพัฒนาอย่างยิ่งยืน
ประโยชน์ที่องค์กรอาจได้รับจากจัดทำระบบการจัดการคุณภาพตามแนวทางของมาตรฐานสากลคือ:
a) มีความสามารถในการจัดหาผลิตภัณฑ์และบริการที่ตรงตามความต้องการของลูกค้า และเป็นไปตามกฎหมายและระเบียบต่างๆ
b) เพิ่มโอกาสในการยกระดับความพึงพอใจของลูกค้า
c) จัดการกับความเสี่ยงและโอกาสที่เกิดเกี่ยวข้องกับบริบทและวัตถุประสงค์
d) ความสามารถแสดงให้เห็นถึงความสอดคล้องกับข้อกำหนดของระบบการจัดการคุณภาพที่กำหนด

จากแนวคิดการพัฒนาแนวทางการบริหารจะพบว่ายังคงการมุ่งเน้นหลักการ “Process Approach” หรือกระบวนการดำเนินงาน คือ การนำเอาทรัพยากรหรือปัจจัยการผลิตป้องเข้าสู่ระบบการทำงานเพื่อให้บรรลุเป้าหมายที่ตั้งไว้
  หลักการของ Process Approach นี้เน้นให้มองงาน / กระบวนการ / กิจกรรมต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นกระบวนการที่ก่อให้เกิดมูลค่าเพิ่มแก่ผลิตภัณฑ์ หรือเป็นกระบวนการสนับสนุน กระบวนการ / กิจกรรมต่างๆ นี้ให้มองในรูปของกระบวนการ (Process) ที่แต่ละ Process จะมีทั้งปัจจัยเข้า (Input) และปัจจัยออก หรือผล (Output) ใน ISO9001 :2015พบว่าการ บริหารเชิงกระบวนการ เพียงอย่างเดียวยังมีโอกาสที่อาจเกิดความล้มเหลวหรือปัญหาเกิดขึ้นจึงได้มีการนำเอาหลักการประเมินความเสี่ยงเข้ามาเป็นข้อมูลป้อนเข้าสำหรับการออกแบบขั้นตอนการปฏิบัติงานในแต่ละกระบวนการ

โดยมีแนวคิดทำให้เกิดการวางแผนที่มุ่งเน้นการป้องกันไว้ล่วงหน้าเพื่อไม่ให้เกิดปัญหาซึ่งใน ฉบับก่อนหน้านี้ การป้องกัน ได้มีการระบุในข้อกำหนดเฉพาะ 8.5.3 ซึ่งองค์กรอาจไม่ได้มีการประยุกต์ใช้อย่างถูกต้อง

วัตถุประสงค์
    เพื่อให้ผู้เข้ารับการอบรมทราบแนวทางการปรับเปลี่ยนระบบให้สอดคล้องกับ ข้อกำหนด ISO9001:2015 และ IATF16949 :2016

กลุ่มเป้าหมาย : ผู้จัดการ หัวหน้างาน พนักงาน และผู้ที่สนใจ

จำนวนผู้เข้าอบรม : 30 คน/รุ่น
กำหนดการอบรม  2 วัน ตั้งแต่ 09.00-16.30

หัวข้อการอบรม
บทนำ
– ประโยชน์ที่ได้จากการทำ ISO9001& IATF16949
– ขั้นตอนการออกแบบระบบบริหาร
ข้อกำหนด ISO9001:2015 และ IATF 16949:2016
1 ขอบข่าย
2 มาตรฐานอ้างอิง
3 คำศัพท์และคำนิยาม
4 บริบทขององค์กร
4.1 ความเข้าใจในองค์กรและบริบทขององค์กร
4.2 ความเข้าใจในความต้องการและความคาดหวังของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย
4.3 การกำหนดขอบเขตของระบบการจัดการคุณภาพ
4.4 ระบบการจัดการคุณภาพและกระบวนการต่างๆ
5 ภาวะผู้นำ
5.1 ความเป็นผู้นำและความมุ่งมั่น
5.2 นโยบาย
5.3 บทบาท ความรับผิดชอบ และอำนาจหน้าที่
6 การวางแผน
6.1 การดำเนินการเพื่อรับมือกับความเสี่ยงและโอกาส
6.2 วัตถุประสงค์ด้านคุณภาพและการวางแผนให้บรรลุผลสำเร็จ
6.3 การวางแผนเพื่อการเปลี่ยนแปลง
7 การสนับสนุน
7.1 ทรัพยากร
7.2 ทักษะความสามารถ
7.3 ความตระหนัก
7.4 การติดต่อสื่อสาร
7.5 เอกสารข้อมูล
8 การปฏิบัติงาน
8.1 การวางแผนและการควบคุมการปฏิบัติงาน
8.2 ข้อกำหนดเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์และบริการ
8.3 การออกแบบและพัฒนาผลิตภัณฑ์และบริการ
8.4 การควบคุมกระบวนการ ผลิตภัณฑ์ และบริการที่ได้จากภายนอก
8.5 การผลิตและการให้บริการ
8.6 การปล่อยผลิตภัณฑ์และการบริการ
8.7 การควบคุมผลลัพธ์ที่ไม่เป็นไปตามข้อกำหนด
9 การประเมินผลการดำเนินงาน
9.1 การติดตาม การวัดผล การวิเคราะห์ และการประเมินผล
9.2 การตรวจประเมินภายใน
9.3 การทบทวนโดยฝ่ายบริหาร
10 การปรับปรุง
10.1 บททั่วไป
10.2 ความไม่สอดคล้องและการปฏิบัติแก้ไข
10.3 การปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง

รูปแบบการอบรม
– บรรยายทำความเข้าใจข้อกำหนดและแนวทางการเปลี่ยนแปลงระบบ
– เอกสารที่ใช้ในการอบรมเป็นเอกสารข้อกำหนด ISO9001:2015 (15-09-15) และ ข้อกำหนด IATF16949 :2016 (1-10-17)ที่มีการแปล ( EN-TH ) แล้วทั้งฉบับเพื่อทำให้ได้รับข้อมูลข้อกำหนดอย่างครบถ้วน
– ตัวอย่างการวางระบบ

Total Page Visits: 2210 - Today Page Visits: 2