หลักสูตร การลดต้นทุนด้วยเทคนิควิศวกรรมคุณค่า Cost reduction by Value engineering techniques

บทนำ
วิศวกรรมคุณค่า หรือ VE ( Value Engineering ) คือ การนำหลักทางทางวิศวกรรมเข้ามาช่วยในการวิเคราะห์กระบวนการต่างๆ โดยมีจุดมุ่งหมายหลักคือ “ การลดต้นทุนการผลิต ”วิศกรรมคุณค่าเกิดขึ้นในระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 2 (ค.ศ.1938-1945). สงครามโลกครั้งที่ 2 ทำให้เกิดการขาดแคลนวัตถุดิบ โดยเฉพาะจำพวกโลหะ เหล็กทุกชนิดเช่นเดียวกัน ประเทศสหรัฐอเมริกา ก็ได้รับผลกระทบนี้มากแต่ในขณะเดียวกันก็มีความต้องการใช้วัสดุจำพวกนี้ในกิจการทางการทหาร หนึ่งในนั้นก็คือ การผลิตเครื่อง Turbo Supercharger ให้ได้จำนวน 1000 เครื่องภายในระยะเวลาหนึ่งสัปดาห์

เพื่อใช้สำหรับเครื่องบิน B-24 และ B-29. และในครั้งนี้เองนาย Lawrence Miles ซึ่งเป็นวิศวกรจัดซื้อของบริษัท General Electric Company ประเทศสหรัฐอเมริกา ได้รับคำสั่งให้หาวัตถุดิบและผลิตชิ้นส่วนเหล่านี้ ลองนึกภาพตามนะครับว่ามันจะสำคัญแค่ไหน ในขณะที่กำลังเกิดสงครามอยู่แต่วัตถุดิบในการผลิตยุทโธปกรณ์ทางการทหารขาดแคลน ภาระกิจที่หนักหนาสาหัสมากสำหรับในสถานการณ์เช่นนี้. แต่แล้ว นาย Lawrence Miles เค้าก็สามารถพลิกวิกฤตให้เป็นโอกาส เค้าพยายามแล้ว พยามอีก จนกระทั่งเกิดแนวคิดที่ว่า “ในเมื่อหาและผลิตมันไม่ได้ ทำไมไม่ลดหน้าที่การทำงาน (Function) ลงล่ะ” ซึ่งก็หมายถึง การตัดสิ่งที่ไม่จำเป็น หรือเปลี่ยนไปใช้วัสดุอย่างอื่นแทนที่สามารถทำงานได้เหมือนกันโดยที่คุณภาพไม่ลดลง แต่ต้นทุนต่ำลง. จึงเป็นที่มาของเทคนิค วิศกรรมคุณค่า หรือ Value Engineering (VE) ในการ ลดต้นทุนการผลิต และมีการพัฒนาต่อเนื่องจนถึงปัจจุบัน เป้าหมายของวิศวกรรมคุณค่า จะเน้นที่การพัฒนาคุณค่าของสิ่งที่นำมาศึกษา เช่น เพิ่มคุณภาพ สมรรถภาพ ความปลอดภัย ลดค่าใช้จ่ายทั้งทางตรงและค่าใช้จ่ายตลอดวงจรชีวิต ตัวอย่างของวิศวกรรมคุณค่าเช่น การเปลี่ยนเครื่องปรับอากาศจากรุ่นเก่าที่ใช้พลังงานไฟฟ้าสูง ไปเป็นเครื่องปรับอากาศที่ราคาเครื่องสูงกว่าแต่ใช้พลังงานไฟฟ้าต่ำกว่า ซึ่งเมื่อทำการคำนวณคุณค่าในระยะยาวตลอดวงจรชีวิตของเครื่องปรับอากาศ ราคาที่ต้องเสียไปจะมีค่ารวมน้อยกว่า หรือตัวอย่างการก่อสร้างถนนโดยการเปลี่ยนขั้นตอนการสร้างถนนเป็นรูปแบบใหม่แม้ว่าค่าใช้จ่ายจะสูงขั้น แต่คุณค่าด้านความปลอดภัยสูงขึ้น และค่าใช้จ่ายในการบำรุงรักษาลดลง ซึ่งทำให้คุณค่าโดยรวมสูงกว่า

วัตถุประสงค์
1. เพื่อให้ผู้เข้ารับการอบรมเข้าใจหลักการและความจำเป็นในการปรับปรุงเพื่อการ ลดต้นทุนการผลิต โดยไม่กระทบต่อคุณค่าของผลิตภัณฑ์
2. เพื่อให้ผู้เข้ารับการฝึกอบรมมีความรู้และทักษะการปรับปรุงโดยใช้เทคนิค วิศวกรรมคุณค่า Value engineering techniques (VE) ในการ ลดต้นทุนการผลิต

กลุ่มเป้าหมาย : ผู้บริหาร ผู้จัดการ หัวหน้างาน วิศวกร และผู้ที่สนใจ
จำนวนผู้เข้าอบรม : 30 คน/รุ่น

กำหนดการ อบรม
วิศวกรรมคุณค่า Value engineering (VE) คืออะไร
– ประวัติความเป็นมาของ วิศวกรรมคุณค่า
– กฎเบื้องต้น 5 ประการสำหรับ วิศวกรรมคุณค่า Value engineering (VE)
– 3 ขั้นตอน Value engineering
1. การกำหนดคำจำกัดความของหน้าที่
• รวบรวมข้อมูลสิ่งที่เป็นเป้าหมายของ วิศวกรรมคุณค่า Value engineering (VE)
• กำหนดคำจำกัดความของหน้าที่
2. การประเมินหน้าที่
• วิเคราะห์ต้นทุนแยกตามหน้าที่
• ประเมินหน้าที่และคัดเลือกจุดปรับปรุง
3. การจัดทำข้อเสนอการปรับปรุงเพื่อ ลดต้นทุนการผลิต
• นำเสนอแนวคิดการปรับปรุง
• ประเมินแนวคิดการปรับปรุง
• การจัดทำให้เกิดขึ้นเป็นรูปธรรม
– Q&A

รูปแบบการ อบรม
– บรรยาย 60% Workshop 40%
– ใช้หลักการระดมสมองและร่วมการดำเนินกิจกรรม วิศวกรรมคุณค่า Value engineering techniques เสมือนจริงในการ ลดต้นทุนการผลิต

Total Page Visits: 1326 - Today Page Visits: 2