Keyword ค้นหาที่เกี่ยวข้อง
อบรม APQP , หลักสูตร APQP , หลักสูตร APQP and PPAP , ตัวอย่าง Procedure APQP , APQP และ PPAP คือ , ตัวอย่าง APQP download , APQP คือ , ลำดับ กิจกรรม APQP , APQP training courses , apqp and ppap training , ตัวอย่างการทำ apqp , กระบวนการ APQP , ขั้นตอนการทำ new model , การวางแผนผลิตภัณฑ์ล่วงหน้า apqp , อบรม PPAP
บทนำ หลักสูตร APQP 3rd
Advance Product Quality Planning ( APQP 3rd ) คือเป็นวิธีการระบุและกำหนดขั้นตอนที่จำเป็นเพื่อให้ผลิตภัณฑ์ที่ผลิตขึ้นเป็นที่พึงพอใจของลูกค้า และเป็นไปตามข้อกำหนดด้านประสิทธิภาพและคุณภาพทั้งหมด การวางแผนคุณภาพผลิตภัณฑ์มีเป้าหมายเพื่ออำนวยความสะดวกในการสื่อสารกับทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้ขั้นตอนที่จำเป็นทั้งหมดเสร็จสิ้นตรงเวลา ซึ่งประสิทธิผลของวางแผนคุณภาพผลิตภัณฑ์นั้นจะขึ้นอยู่กับความมุ่งมั่นของผู้นำของบริษัทในการพยายามเพื่อสร้างความพึงพอใจให้กับลูกค้า
ประโยชน์ของการวางแผนคุณภาพผลิตภัณฑ์ ได้แก่
• จัดสรรทรัพยากรเพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้า
• ช่วยในการเปลี่ยนแปลงที่จำเป็นตั้งแต่ระยะแรก
• เพิ่มคุณภาพงานในครั้งแรก (First Time Quality) ในการผลิตชิ้นส่วนใหม่
• ผลิตสินค้ามีคุณภาพและตรงต่อเวลาด้วยต้นทุนที่ต่ำที่สุด
การเปลี่ยนแปลงที่สำคัญของ APQP คืออะไร
• ลบเนื้อหา แผนการควบคุม ออกเป็นเอกสารแผนควบคุมแยกเล่มแบบเดี่ยว
• ลบขั้นตอน ในเฟส 3.5 Characteristics Matrix ออก
• เพิ่มการใช้ OEE มาใช้เป็นข้อมูลการวางแผนกำลังการผลิต ในเพส 1.13
• เพิ่มส่วนการจัดหาในข้อ 0.5 และรายการตรวจสอบการจัดหา Form A-9
• เพิ่มส่วนการจัดการการเปลี่ยนแปลง เฟส 1.15 และรายการตรวจสอบการจัดการการเปลี่ยนแปลง A-8
• เพิ่มส่วนสำหรับ APQP Program Metrics เฟส 1.16 รวมถึงตัวอย่างในภาคผนวก C
• เพิ่มส่วนแผนลดความเสี่ยง เฟส 1.17 รวมถึงตัวอย่างในภาคผนวก C
• เพิ่มเนื้อหา “การตรวจสอบย้อนกลับชิ้นส่วน” ที่เกี่ยวกับ เฟส 1.15 รวมถึงตัวอย่างในภาคผนวก C
• เพิ่มส่วนการจัดการแต่ละประตูสู่เพสถัดไป และ รายการตรวจสอบเอกสารที่แนะนำสำหรับการทบทวน “gate””ประตู“ ในภาคผนวก B
การวางแผนโครงการ project planning ซึ่งเป็นการศึกษารายละเอียดของงาน การจัดทำแผนหลักและแผนย่อยในแต่ละส่วนงานเพื่อเป็นตัวกำหนดทำให้เกิดความชัดเจนเรื่องของงาน กำหนดระยะเวลาและวิธีการ ต่างๆซึ่งในการดำเนินงานจะประกอบด้วยขั้นตอนดังต่อไปนี้
เครื่องมือที่ใช้ใน การวางแผนโครงการ project planning มีมากมายหนึ่งในเครื่องมือนั้นคือ PERT-CPM และผังลูกศรเพื่อใช้ในการแสดงความสัมพันธ์และหาค่าเวลาต่างๆเพื่อใช้ในการวางแผนโครงการ project planning
แล้วนำผลที่ได้มาจัดทำแผนการดำเนินงาน
ในบางกรณีเมื่อวางแผนเสร็จสิ้นอาจพบว่าระยะเวลาที่ใช้อาจเกินกำหนดที่ต้องการดังนั้นผู้วางแผนต้องมีความเข้าใจกับหลักการเร่งรัดโครงการเพื่อปรับเปลี่ยนแผนใหม่
วัตถุประสงค์
1.เพื่อให้ผู้เข้ารับการฝึกอบรมมีความรู้และทักษะเกี่ยวกับการวางแผนคุณภาพล่วงหน้าตามแนวทางของคู๋มือ APQP2nd
2. เพื่อให้ผู้เข้ารับการอบรมเข้าใจในหลักการของการวางแผนและมีทักษะการประยุกต์ใช้เทคนิค PERT / CPM ในการวางแผนโครงการ
3. เพื่อให้ผู้เข้าอบรมสามารถทบทวนและปรับเปลี่ยนเร่งรัดแผนให้สอดคล้องกับความต้องการ
กลุ่มเป้าหมาย : ผู้บริหาร ผู้จัดการ หัวหน้างาน วิศวกร และบุคคลทั่วไปที่สนใจ
จำนวนผู้เข้าอบรม : 30 คน/รุ่น
กำหนดการอบรม 2 วัน 09.00-16.30
หัวข้อสัมมนา
หลักการและแนวคิดพื้นฐาน
– วัตถุประสงค์ของระบบ IATF16949
– วัตถุประสงค์ของการทำ APQP 3rd
– ข้อกำหนด IATF 16949 ที่เกี่ยวข้อง
แนวทางการวางแผนคุณภาพผลิตภัณฑ์ล่วงหน้า
– เฟส 1 การวางแผนและการกำหนด
– เฟส 2 การออกแบบและการพัฒนาผลิตภัณฑ์
– เฟส 3 การออกแบบและการพัฒนาการบวนการ
– เฟส 4 การรับรองผลิตภัณฑ์และกระบวนการ
– เฟส 5 ข้อมูลย้อนกลับ / การประเมินและการแก้ไข
– Workshop
การวางแผนบริหารโครงการ
– 6 ขั้นตอนพื้นฐานสำหรับการใช้ PERT / CPM ในการวางแผนโครงการ
1. กำหนด Work Breakdown Structure และ Project Organization
2. ศึกษาความสัมพันธ์ของงานย่อยต่าง ๆ ว่างานใดต้องทำเสร็จก่อนแล้วจึงเริ่มต้นทำงานอื่นได้ของ WBS ที่กำหนดมา
3. เขียนข่ายงาน (Network) เพื่อแสดงความสัมพันธ์ของงานย่อยต่าง ๆ ตั้งแต่เริ่มต้นจนสิ้นสุดโครงการโดย แผนผังลูกศร (Arrow Diagram)
– Workshop
4. ศึกษาเวลาที่ต้องใช้ในแต่ละกิจกรรม
5. คำนวณ ES, EF, LS, LF, Critical Path, Slack Time และ 𝜎
– Workshop
6. ใช้ข่ายงานที่เขียนมาเพื่อช่วยในการวางแผน จัดตารางการทำงาน
ตรวจสอบและควบคุมโครงการ
– Workshop การจัดทำแผนโครงการ
การทบทวนเร่งรัดแผนโครงการ
– กำหนดระยะเวลาที่ต้องการเสร็จ และ หาสายงานวิกฤต
– กำหนดต้นทุนของการเร่งโครงการ
– เลือกกิจกรรมสำหรับเร่งรัดโรงการ
– คำนวณ ES, EF, LS, LF, Critical Path, Slack Time และ 𝜎
– ปรับปรุงแผนโครงการใหม่
– Workshop
– การวางแผนความต้องการทรัพยากร
– Workshop
– Q&A
รูปแบบการอบรม
– บรรยาย 40% Workshop 60%
สิ่งที่ลูกค้าต้องเตรียม
– แฟ้มเอกสาร APQP และ PPAP ของผลิตภัณฑ์ที่เคยดำเนินการ
– ขั้นตอนปฏิบัติงานเกี่ยวกับ APQP และ PPAP รวมถึง Form ที่มีการประยุกต์ใช้