หลักสูตร 5Q เพื่อการพัฒนาตนเองสู่การทำงานอย่างมีความสุข

บทนำ

IQ ย่อจาก Intelligence quotient หมายถึง ความฉลาดทางเชาวน์ปัญญา การคิดวิเคราะห์เชิงตรรกะ การใช้เหตุผล การคำนวณเชิงคณิตศาสตร์ การเชื่อมโยง ซึ่งเกิดจากกรรมพันธุ์ 50 % และเกิดจากสภาพแวดล้อม การเลี้ยงดู 50%

การวัดไอคิว เกิดขึ้นครั้งแรกในปีค.ศ.1905 โดยนักจิตวิทยาชาวฝรั่งเศสที่ต้องการแยกบุคคลปัญญาอ่อนออกจากคนปกติ เพื่อจะได้จัดการศึกษาให้อย่างเหมาะสม โดยใช้การเปรียบเทียบระหว่างความสามารถที่ควรจะเป็นกับอายุสมองแล้วคำนวณออกมาเป็นเปอร์เซ็นต์

AQ ย่อจาก Adversity Quotient คือความสามารถในการ ที่อดทนทั้งด้าน ความยาก ลำบาก ทางกาย ความอดกลั้น ทางด้านจิตใจ และ จิตวิญญาณ ที่สามารถเผชิญ และเอาชนะเพื่อบรรลุเป้าหมายที่ตั้งไว้ เมื่อต้องเผชิญ กับการเปลี่ยนแปลง ที่รวดเร็วและไม่มีความแน่นอน ซึ่งจะเป็นรูปแบบพฤติกรรมการตอบสนองต่อปัญหา อุปสรรคในชีวิต
สตอลต์ (Stoltz ) เปรียบชีวิตเหมือนการไต่ขึ้นภูเขา ผู้ที่ประสบความสำเร็จนั้น จะอุทิศตนก้าวต่อไปข้างหน้า ไต่ขึ้นไปยังจุดสูงขึ้น อย่างไม่หยุดหย่อน บางครั้งช้าบ้างเร็วบ้าง เจ็บปวดบ้างก็ยอม ความสำเร็จนั้น หรือก็เป็นเพียงจุดๆหนึ่งของชีวิต ณ เวลาใดเวลาหนึ่ง จากนั้นก็ก้าวต่อไปตลอดชีวิต แม้ว่าจะมีอุปสรรคเพียงใด

EQ (Emotional Quotient) ปรีชาทางอารมณ์ หมายถึง ความฉลาดทางอารมณ์ ซึ่งเป็นตัวที่ทำให้รู้จักควบคุมอารมณ์ตัวเอง และเข้าใจอารมณ์ผู้อื่นได้ดี บังคับใจตนเองไม่แสดงออกตามอารมณ์ที่พาไป คนที่มี EQ สูง จะมีมนุษยสัมพันธ์ดี เข้ากับคนอื่นง่าย ทำงานเป็นทีมได้ รู้จักเห็นอกเห็นใจและเข้าใจความรู้สึกของคนอื่น
ปัจจุบันเป็นที่ยอมรับกันว่า EQ สำคัญมากไม่ยิ่งหย่อนกับ Intelligence Quotient (IQ) หรือความฉลาดทางสติปัญญา บางคนถึงกับเห็นว่า EQ สำคัญกว่า IQ ด้วยซ้ำ โดยเรามีคำพังเพยเกี่ยวกับบุคคลที่มี IQ สูง แต่กลับไม่ประสบผลสำเร็จในชีวิตว่า
CQ ย่อจาก Creative Quotient ระดับความฉลาดในการคิดริเริ่มสร้างสรรค์
เมื่อโลกเปลี่ยนไป คนเริ่มเปลี่ยนแปลง ระบบสังคมก็ต้องปรับเปลี่ยนไปตามกระแสโลกที่กำลังถูกขับเคลื่อนไปสู่ระบบสังคมใหม่ที่เรียกว่า Creative city ทุกคำตอบของสังคมโลกจะแข่งขันกันด้วยความคิดสร้างสรรค์เป็นพื้นฐาน ดังนั้น CQ จึงเป็นอีกหนึ่งความฉลาดที่คนยุคใหม่ควรส่งเสริมพัฒนาไปพร้อมๆ กับ Q ตัวอื่นๆ ด้วย
MQ ย่อจาก Moral Quotient ความฉลาดทางคุณธรรม เรียกว่าการมีคุณธรรมนั่นเอง ซึ่งเป็นสิ่งที่ต้องเรียนรู้และถูกปลุกฝังกันมาตั้งแต่ยังเป็นเด็ก เป็นความฉลาดที่เกิดจากการหล่อหลอมจากสภาพสังคม คนที่มี MQ สูงจะไม่ทำในสิ่งผิดตั้งแต่กิริยาวาจา กาลเทศะ ความคิดและพฤติกรรม ไม่คอรัปชัน ไม่รับสินบน เชื่อมันในเกียรติ ศักดิ์ศรี ความถูกต้องและเชื่อมั่นในคำพูดตนเอง
หลักคุณธรรมตามแนวนีโอฮิวแมนนิส 2 ส่วน ดังนี้
1.มียามะ (Yama) ซึ่งเป็นหลักในการปฏิบัติตัวกับผู้อื่น หรือสิ่งอื่น มี 5 ข้อ คือ
– การไม่มีเจตนาทำความเจ็บปวดให้กับผู้อื่น ทั้งจากความคิด คำพูด และการกระทำ (Non-harming)
– การมีปิยะวาจา หรือการคิด และการใช้คำพูดที่ทำให้ผู้อื่นได้รับประโยชน์และมีความสุข (Benevolent Truth)
– การไม่นำสิ่งของผู้อื่นมาเป็นของเรา (Non-Stealing)
– การใช้ชีวิตอย่างเรียบง่าย พอเพียง (Simple Living)
– การมีจิตสาธารณะ (Universal love)
2. มีนิยามะ (Niyama) ซึ่งเป็นหลักในการพัฒนาร่างกายและจิตใจของตนเอง มี 5 ข้อ คือ
– การรักษาความสะอาด (Cleanliness)
– ความพึงพอใจในสิ่งที่ตนเองมีอยู่ (Contentment)
– การรับใช้ช่วยเหลือผู้อื่น (Services)
– การศึกษาเพื่อพัฒนาตนเอง (Study)
– การทำสมาธิ (Meditation)

การเสริมสร้างด้าน Q ทำให้คนทำงานได้เป็นอย่างดี ยังทำให้เกิดพฤติกรรมการทำงานที่มุ่งเพิ่มปริมาณและคุณภาพ ยังเน้นสร้างบรรยากาศที่ผู้ปฏิบัติมีความสุขความพอใจและเต็มใจลงทุนลงแรง เพื่อให้ผลงานบรรลุวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ การทำงานในลักษณะดังกล่าวคือการจูงใจในการทำงาน ซึ่งผู้ทำงานธุรกิจควรให้ความสำคัญและสนใจศึกษาเพื่อพัฒนางานให้เจริญก้าวหน้า ในที่นี้จะกล่าวถึงความหมายของการจูงใจ ความเป็นมาและความสำคัญของการจูงใจในการทำงาน ลักษณะและที่มาของแรงจูงใจ ทฤษฎีและการศึกษาเรื่องการจูงใจ และการประยุกต์ความรู้เรื่องการจูงใจไปใช้ในงานธุรกิจ

วัตถุประสงค์
1. เพื่อทำให้พนักงานสามารถประเมินตนเองจากประเด็นด้าน 3Q จนทำให้ทราบจุดแข็งและอ่อนของตนเอง
2. เพื่อทำให้พนักงานทราบแนวคิดการพัฒนาตนเอง และ สามารถวางแผนการพัฒนาตนเองเพื่อเติมเต็มความสมบูรณ์ของตนเองนำไปสู่การทำงานอย่างมีความสุข

กลุ่มเป้าหมาย : ผู้จัดการ หัวหน้างาน และผู้ที่สนใจ
จำนวนผู้เข้าอบรม : 30 คน/รุ่น

กำหนดการอบรม
บทนำ
– พนักงานกับการทำงานในองค์กร ( หน้าที่ , การปฏิสัมพันธ์กับบุคคล )
– ปัญหาที่เกิดขึ้น และ ผลกระทบจากปัญหา
5Q
– IQ (Intelligence quotient) คืออะไร
– Workshop ประเมินผล
– การวิเคราะห์ และ แนวทางพัฒนา IQ ตนเอง
– AQ (Adversity Quotient) คืออะไร
– Workshop ประเมินผล
– การวิเคราะห์ และ แนวทางพัฒนา AQ ตนเอง
– EQ (Emotional Quotient) คืออะไร
– Workshop ประเมินผล
– การวิเคราะห์ และ แนวทางพัฒนา EQ ตนเอง
– CQ (Creative Quotient)คืออะไร
– เทคนิคการพัฒนาด้านคิดริเริ่มสร้างสรรค์
– MQ (Moral Quotient) คืออะไร
– แนวทางการปฏิบัติเพื่อคุณธรรม
– การสร้างแรงจูงใจและแนวคิดเชิงบวกเพื่อการทำงาน อย่างมีความสุข
– การทำความเข้าใจในปัจเจกบุคคลเพื่อการทำงานร่วม กับผู้อื่น
– รักตน รักงาน สร้างเป้าหมายเพื่อความสำเร็จ
การวางแผนการพัฒนาตนเองสู่จุดมุ่งหมายของงาน
– นำเสนอแนวทางพัฒนาตนเอง
Q&A

รูปแบบการอบรม
– บรรยาย 30% Workshop 70%
– บรรยาย 5Q และทำกิจกรมประเมินตนเองจากแบบประเมิน 3Q จากที่สถาบันจัดเตรียม
ให้

Total Page Visits: 2321 - Today Page Visits: 3