บทนำ
“สารเคมีอันตราย” หมายความว่า สาร สารประกอบ สารผสม ซึ่งอยู่ในรูปของ ของแข็ง ของเหลว หรือ แก๊ส ที่มีลักษณะอย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายอย่างดังต่อไปนี้
(1) มีพิษ กัดกร่อน ระคายเคือง ทำ ให้เกิดอาการแพ้ ก่อมะเร็ง หรือทำ ให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพอนามัย
(2) ทำ ให้เกิดการระเบิด เป็นตัวทำ ปฏิกิริยาที่รุนแรง เป็นตัวเพิ่มออกซิเจนหรือไวไฟ
(3) มีกัมมันตภาพรังสี
ในปัจจุบันภาคอุตสาหกรรมได้มีการใช้สารเคมีอันตรายในการผลิต ซึ่งในกฎหมายได้ระบุว่า “ผลิต” หมายความว่า ทำ ผสม ปรุง ปรุงแต่ง เปลี่ยนรูป แปรสภาพ และหมายความรวมถึงการบรรจุ เก็บ เคลื่อนย้าย และการติดฉลากหรือตราหรือสัญลักษณ์บนหีบห่อ ภาชนะบรรจุ หรือสิ่งห่อหุ้มสารเคมีอันตราย ดังนั้นเพื่อให้ผู้ปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้องกับสารเคมีอันตรายมีความปลอดภัยจึงจำเป็นต้องดำเนินการตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 103 ลงวันที่ 16 มีนาคม พ.ศ.2515 กระทรวงมหาดไทยจึงกำหนดสวัสดิการเกี่ยวกับสุขภาพอนามัยและความปลอดภัยสำหรับลูกจ้างที่ทำงานเกี่ยวกับสารเคมีอันตรายไว้ประกาศ ณ วันที่ 22 สิงหาคม พ.ศ. 2534 ซึ่งมีเนื้อหาครอบคลุม 3 หมวดดังนี้
หมวด 1 การทำงานเกี่ยวกับสารเคมีอันตราย
หมวด 2 การคุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคล
หมวด 3 เบ็ดเตล็ด
และ เรื่อง ความปลอดภัยในการทำงานเกี่ยวกับภาวะแวดล้อม (สารเคมี) ประกาศ ณ วันที่ 30 พฤษภาคม พุทธศักราช 2520 ซึ่งมีเนื้อหาครอบคลุม 3 หมวดดังนี้
หมวด 1 สารเคมี
หมวด 2 มาตรฐานเกี่ยวกับอุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคล
หมวด 3 เบ็ดเตล็ด
วัตถุประสงค์
1. เพื่อให้ผู้เข้ารับการอบรมทราบถึงอันตรายของสารเคมีและผลกระทบต่อสุขภาพที่เกิดจากสารเคมี
2. เพื่อให้ผู้เข้ารับการฝึกอบรมทราบวิธีการปฏิบัติงานที่ถูกต้องเกี่ยวกับสารเคมีอันตรายตามประกาศ ของกระทรวงมหาดไทย ประกาศ ณ วันที่ 22 สิงหาคม พ.ศ. 2534
กลุ่มเป้าหมาย : ผู้บริหาร หัวหน้างาน และพนักงานที่ปฏิบัติงานเกี่ยวข้องกับสารเคมีและผู้ที่สนใจ
จำนวนผู้เข้าอบรม : 30 คน/รุ่น
ระยะเวลาอบรม 1 วัน 09.00-16.30 น
หัวข้อฝึกอบรม
หลักการและแนวคิด
– ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับสารเคมี
– ผลกระทบต่อสุขภาพที่เกิดจากสารเคมี
– ชนิด ประเภท และความเป็นอันตรายของสารเคมีที่ใช้ในอุตสาหกรรม
– กฎหมายที่เกี่ยวข้องความปลอดภัยในการทำงานเกี่ยวกับสารเคมี
ความปลอดภัยในการทํางานเกี่ยวกับสารเคมีอันตราย
– ความปลอดภัยของสภาพพื้นที่ปฏิบัติงาน
– การจัดการสารเคมีอันตราย
– ความเข้าใจเกี่ยวกับความอันตรายของสารเคมีและการปฏิบัติงาน
– เครื่องหมายความปลอดภัย
– ระบบการอนุญาตเข้าทำงาน
– แผนฉุกเฉินสารเคมีอันตรายรั่วไหล และเพลิงไหม้
Q&A
รูปแบบการอบรม
– บรรยาย ยกตัวอย่าง แลกเปลี่ยนประสบการณ์