หลักสูตร การตรวจประเมินภายใน Internal Environmental Audit For ISO14001 : 2015 (2วัน)

บทนำ
สิ่งแวดล้อมมีทั้งสิ่งที่มีชีวิตและไม่มีชีวิตเกิดจากการกระทำของมนุษย์หรือมีอยู่ตามธรรมชาติ เช่น อากาศ ดิน หิน แร่ธาตุ น้ำ ห้วย หนอง คลอง บึง ทะเลสาบ ทะเล มหาสมุทร พืชพรรณสัตว์ต่าง ๆ ภาชนะเครื่องใช้ต่าง ๆ ฯลฯ สิ่งแวดล้อมดังกล่าวจะมีการเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ โดยเฉพาะมนุษย์เป็นตัวการสำคัญยิ่งที่ทำให้สิ่งแวดล้อมเปลี่ยนแปลงทั้งในทางเสริมสร้างและทำลาย
มีอิทธิพลเกี่ยวโยงถึงกัน เป็นปัจจัยในการเกื้อหนุนซึ่งกันและกัน ผลกระทบจากปัจจัยหนึ่งจะมีส่วนเสริมสร้างหรือทำลายอีกส่วนหนึ่ง อย่างหลีกเลี่ยงมิได้ สิ่งแวดล้อมเป็นวงจรและวัฏจักรที่เกี่ยวข้องกันไปทั้งระบบ

สิ่งแวดล้อมแบ่งออกเป็นลักษณะกว้าง ๆ ได้ 2 ส่วนคือ
• สิ่งแวดล้อมที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ เช่น อากาศ น้ำ พื้นดิน ทรัพยากรธรรมชาติ พืช สัตว์ มนุษย์ และความสัมพันธ์
• สิ่งแวดล้อมที่มนุษย์สร้างขึ้น เช่น ชุมชนเมือง สิ่งก่อสร้างโบราณสถาน ศิลปกรรม ขนบธรรมเนียม ประเพณี และวัฒนธรรม

ปัญหาด้านสิ่งแวดล้อม
สำนักงานสมุทรศาสตร์และบรรยากาศแห่งชาติ (NOAA) เปิดเผยว่า เดือนมีนาคม 2015 ทำลายสถิติกลายเป็นเดือนมีนาคมที่ร้อนที่สุด นับตั้งแต่เริ่มมีการบันทึกสถิติในปี 1880 และในเวลาเดียวกัน ไตรมาสที่ 1 ปี 2015 (ม.ค.-มี.ค.) เป็นไตรมาสที่ 1 ที่ร้อนที่สุดในรอบ 136 ปีที่ผ่านมา ทำให้มีแนวโน้มว่าปี 2015 จะทำลายสถิติของปี 2014 กลายเป็นปีที่ร้อนที่สุด
ซึ่งการใช้พลังงานก่อนให้เกิดปรากฏการณ์หลายๆประการที่เป็นสาเหตุให้โลกร้อนเช่น
– ปรากฏการณ์เรือนกระจก (Green house effect) เกิดจากก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ก๊าซโอโซน ก๊าซมีเทน ก๊าซไนตรัสออกไซด์ ก๊าซคลอโรฟลูออโรคาร์บอนและอื่น ๆ ลอยอยู่ในชั้นบรรยากาศ เป็นลักษณะคล้ายกับเรือนกระจกที่ปิดล้อมรอบโลกเรา ทำให้โลกมีอุณหภูมิสูงขึ้น
– รูรั่วโอโซน โอโซนในชั้นบรรยากาศ ทำหน้าที่สำคัญคือกันรังสีอุลตร้าไวโอเลต (UV) จากดวงอาทิตย์ที่ผ่านมายังโลกให้เหลือในระดับที่ไม่เป็นอันตรายต่อสิ่งมีชีวิตบนโลกเกิดจากการใช้สาร คลอรีน-ฟลูโอรีน-คาร์บอน (CFC) ในตู้เย็น,เครื่องปรับอากาศและ กระป๋องสเปรย์
– ปรากฏการณ์เอลนีโญ (El-nino) และ ลานีญา (La Nina)
ผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม ที่มีต่อตนเองและสังคม
ในปัจจุบันเราสามารถจำแนก ปัญหาสิ่งแวดล้อม ที่สังคมมนุษย์กำลังเผชิญอยู่ในปัจจุบันนี้ได้ 3 ปัญหาใหญ่ ๆ คือ
1. ปัญหาการลดลงของทรัพยากรธรรมชาติ เนื่องจากการใช้ทรัพยากรอย่างไม่ประหยัด
2. ปัญหามลภาวะหรือมลพิษทางสิ่งแวดล้อม เนื่องจากการปลดปล่อย/ทิ้งสิ่งที่เป็นพิษ
3. ปัญหาการทำลายระบบนิเวศ เนื่องจากเกิดการเสียสมดุล
สาเหตุจากการใช้ทรัพยากรธรรมชาติ
สาเหตุจากการปล่อยมลพิษต่างๆ
มาตรฐาน ISO 14001 2015 ฉบับนี้ได้ระบุข้อกำหนดสำหรับระบบการจัดการสิ่งแวดล้อมเพื่อให้องค์กรใช้ในการยกระดับผลการดำเนินงานด้านสิ่งแวดล้อม มาตรฐานฉบับนี้มีเจตนาให้องค์กรนำไปใช้ในการแสวงหาวิธีการจัดการความรับผิดชอบด้านสิ่งแวดล้อมของตนอย่างเป็นระบบ และก่อให้เกิดความยั่งยืนด้านสิ่งแวดล้อม
มาตรฐานฉบับนี้ช่วยองค์กรบรรลุผลลัพธ์ที่ต้องการจากระบบการจัดการสิ่งแวดล้อม ซึ่งสร้างคุณค่ากับสิ่งแวดล้อม องค์กร และผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย สอดคล้องกับนโยบายสิ่งแวดล้อมขององค์กร ผลลัพธ์ที่ต้องการจากระบบการจัดการสิ่งแวดล้อมรวมถึง:
– การยกระดับผลการดำเนินงานด้านสิ่งแวดล้อม
– เติมเต็มการปฏิบัติตามพันธกิจ
– บรรลุวัตถุประสงค์ด้านสิ่งแวดล้อม
ซึ่งมาตรฐานฉบับนี้เป็นฉบับที่ 3 มีการประกาศเมื่อวันที่ 15-09-2015 ที่ผ่านมา มาตรฐานฉบับนี้ได้มีการนำเอาแนวคิดบนพื้นฐานความเสี่ยง และโครงสร้างแบบ High Level structure มาเป็นกรอบในการออกแบบระบบการจัดการด้านสิ่งแวดล้อม

รูปที่ 1 – ความสัมพันธ์ระหว่าง PDCA และกรอบการทำงานในมาตรฐานฉบับนี้

การตรวจประเมินภายใน Internal Environmental Audit For ISO14001:2015
เป็นกระบวนการหนึ่งที่ถูกระบุไว้ในข้อกำหนดของระบบบริหารเพื่อทำให้องค์กรได้มีกิจกรรมการตรวจประเมินเพื่อ
• เพื่อให้ทราบถึงสภาวะและสืบหาบ่งชี้ต้นเหตุของปัญหาในระบบบริหารคุณภาพสำหรับการปรับปรุงแก้ไข
• เพื่อป้อนรายงานผลที่ถูกต้องต่อฝ่ายบริหารในเรื่องของผลการนำเอาระบบไปใช้
• เพื่อให้เป็นไปตามข้อกำหนดของ ISO9001 , ISO14001 , IATF16949 and ISO45001 และได้การรับรองจากการตรวจโดยบุคคลที่ 3 ( CB )
ทราบความสอดคล้องของการดำเนินงานกับ
1) ข้อกำหนดของระบบการจัดการคุณภาพขององค์กรหรือไม่
2) ข้อกำหนดของมาตรฐานสากลฉบับนี้หรือไม่
ในกระบวนการตรวจประเมินมี ISO19011 ได้มีการระบุกระบวนการตรวจประเมินเพื่อให้ทุกองค์กรใช้เป็นแนวทางในการพัฒนากระบวนการตรวจให้มีประสิทธิภาพสามารถประเมินและค้นพบปัญหาได้กระบวนการภาพรวมได้ถูกอธิบายไว้ในภาพ

การวางแผนการตรวจจะเป็นการตรวจเป็นกระบวนการตามสถานะความสำคัญและผลการตรวจครั้งที่ผ่านมา

การวิเคราะห์กระบวนการโดยใช้หลักการของ Turtle Diagram จึงทำให้การตรวจมีความละเอียดมากในแต่ละกระบวนการ
  การเข้าตรวจประเมินที่หน้างานทีมผู้ตรวจนั้นจะต้องมีความพร้อมและความเข้าใจในกระบวนการตรวจประเมินซึ่งไม่ใช่ว่าทุกคนจะสามารถตรวจประเมินได้ทุกกระบวนการดังนี้ผู็ตรวจจึงต้องมีคุณสมบัติพื้นฐานที่ดี
  สามารถปฏิบัติตัวได้อย่างเหมาะสมในระหว่างการตรวจประเมินซึ่งอาจจะเจอเหตุการณ์มากมายที่เป็นอุปสรรคในการตรวจเช่น

วัตถุประสงค์

เพื่อให้ผู้เข้ารับการอบรมเข้าใจขั้นตอนการตรวจประเมิน ISO14001 ตามแนวทางการตรวจประเมินของ ISO19011 และสามารถดำเนินการตรวจประเมินเพื่อทำให้สามารถทราบสถานะของการดำเนินการตามระบบ ISO14001 ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

กลุ่มเป้าหมาย : ผู้จัดการ หัวหน้างาน พนักงาน และผู้ที่สนใจ
: สำหรับผู้ตรวจประเมินในที่ได้รับการอบรมข้อกำหนด ISO14001 มาแล้ว

จำนวนผู้เข้าอบรม : 30 คน/รุ่น

ระยะเวลาอบรม 2 วัน 09.00-16.30 น
หัวข้อฝึกอบรม

บทนำ
– วัตถุประสงค์ของการตรวจประเมิน
– ประเภทของการตรวจประเมิน
– ข้อกำหนดที่เกี่ยวข้องกับการตรวจประเมิน
– ผู้เกี่ยวข้องในการตรวจประเมิน 3 ส่วน
– ขั้นตอนในที่เกี่ยวข้องกับการตรวจประเมิน
การเตรียมการกิจกรรมการตรวจประเมิน
* การทบทวนเอกสารเพื่อเตรียมตัวสำหรับการตรวจประเมิน ISO14001
* การวางแผนการตรวจประเมิน ISO14001
* การมอบหมายงานให้แก่ผู้ตรวจประเมิน
* การจัดทำ Check List แบบ Turtle Diagram , WORK SHOP

กิจกรรมการตรวจประเมิน
* การประชุมเปิด
* เทคนิคการตรวจและการสัมภาษณ์
* เทคนิคการบันทึกผลการตรวจติดตาม
* WORK SHOP ตรวจติดตามหน้างาน ISO14001
* การวิเคราะห์สิ่งที่ตรวจพบและการเขียนใบ CAR
* การประชุมปิด
กิจกรรมหลังการตรวจประเมิน
* การสรุปผลและจัดทำรายงานการตรวจประเมิน
* การติดตามประเมินผลการจัดการปัญหา

เอกสารเฉพาะที่ลูกค้าต้องจัดเตรียม
1. เอกสาร EM , EP ของระบบที่ต้องการทำ WORKSHOP การตรวจประเมิน

REMARK รายการที่ 1,2 ให้จัดเตรียม 6 ชุด ( 1ชุด=5คน )

Total Page Visits: 975 - Today Page Visits: 1